เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อสาร สื่อความหมาย และนำเสนอโดยการเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองชุดที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้น และเขียนกราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร รวมทั้งการอ่านและแปรความหมายกราฟได้ และสามารถแก้ปัญหาระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยใช้กราฟ การแทนค่า และการกำจัดตัวแปรได้รวมทั้งสามารถให้เหตุผลในการอ่านและแปลความหมาย กราฟของระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรได้ และเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ กับระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเพื่อแก้โจทย์ปัญหาในทางคณิตศาสตร์ได้
_
พี่ๆ ม.3 เข้าสู่กระบวนการจัดการชุดความรู้อย่างเข้มข้น
ทุกคนจะมีโจทย์นำกลับบ้านในแต่ละวันเพื่อนำมาร่วมพูดคุย
ครูติดตามอธิบายความเข้าใจให้กับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอและสร้างโจทย์ใหม่ให้กับผู้เรียน
Week
|
input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
2
18-22 ม.ค. 59
|
โจทย์
- สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
- ชุดตัวเลข
- คู่อันดับ
- จุดตัดเส้นกราฟ
Key Questions
- ผลบวกของจำนวน 2 จำนวนเท่ากับ 5 และผลต่างของสองจำนวนนี้เท่ากับ 3นักเรียนคิดว่าจำนวนทั้งสองนี้คือ
- นักเรียนคิดว่า สมการที่เกิดขึ้นจากโจทย์ประยุกต์ข้อนี้คืออะไรจำนวนใด
- นักเรียนคิดว่าเราสามารถนำคู่อันดับที่ได้ ไปเขียนกราฟได้อย่างไร
- จากเส้นกราฟที่เกิดขึ้นนักเรียนสังเกตเห็นอะไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับวิธีการคำตอบของสมการ และการตีความหมายของโจทย์ประยุกต์ต่างๆ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์ประยุกต์สมการเชิงเส้นสองตัวแปร
- กระดาษกราฟ
|
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนคิดว่าสมการที่ได้จากโจทย์ข้อที่ 1 เราสามารถหาคำตอบในรูปแบบอื่นๆอีกได้อย่างไร?” (x+y =10, x-y=4)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนการเขียนคู่อันดับจากสมการ
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและหาคำตอบ เพื่อเขียนลงในตารางคู่อันดับ)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น “นักเรียนคิดว่าเราสามารถนำคู่อันดับที่ได้ ไปเขียนกราฟได้อย่างไร?’
เชื่อม : ครูแจกกระดาษกราฟให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและเขียน คู่อันดับที่ได้จากสมการทั้งสอง ลงในแกนกราฟ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากเส้นกราฟที่เกิดขึ้นนักเรียนสังเกตเห็นอะไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น (เกิดจุดตัด และจุดตัดนั้นคือคำตอบของสมการทั้งสอง
- ครูและนักเรียนร่วมจัดระบบข้อมูลเพื่อทบทวนความเข้าใจ
- นักเรียนแต่ละคนนำโจทย์เดิม (5 ข้อ) ที่เคยหาคำตอบด้วยวิธีการแรก (หาชุดตัวเลขที่เหมือนกัน) มาปรับใช้วิธีการหาคำตอบของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรด้วยการ หาคู่อันดับ และเขียนกราฟเพื่อหาจุดตัดเส้นกราฟ พร้อมบันทึกลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง พร้อมทั้งอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับวิธีคิดและความเข้าใจของแต่ละคน เกี่ยวกับสมการเชิงเส้นสองตัวแปร พร้อมนักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์ใหม่ของตนเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อ ได้ทดลองทำเพื่อเพิ่มความเข้าใจอีกครั้ง
|
ภาระงาน
- แสดงวิธีคิดและตีความหมายจากโจทย์สมการเชิงเส้นสองตัวแปร
- แสดงวิธีคิดด้วยการหาคำตอบจากชุดตัวเลข และคำตอบจากการจุดตัดที่เกิดขึ้นบนเส้นกราฟ
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงวิธีคิดหาคำตอบจากสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
- กราฟที่ได้จากสมการ
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
|
ความรู้
กระบวนการวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์สมการเชิงเส้นสองตัวแปร และวิธีการหาคำตอบของสมการ ด้วยวิธีที่หลากหลาย อาทิเช่น การหาชุดตัวเลข หรือ การหาคำตอบจากจุดตัดบนเส้นกราฟ
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์คำตอบ จากการแก้สมการเชิงเส้นสองตัวแปรเกี่ยว ด้วยวิธีคิดทีหลากหลายอาทิเช่น การหาชุดตัวเลข หรือ การหาคำตอบจากจุดตัดบนเส้นกราฟ
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์ของที่มา ในตัวแปรต่างๆได้อย่างมีเหตุผล
ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรกับการเขียนกราฟ โดยคู่อันดับได้
ทักษะการเห็นแบบรูป (Pattern)
- มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่อันดับและเส้นกราฟที่เกิดขึ้น
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรกับการเขียนกราฟ โดยคู่อันดับได้
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
|
_
พี่ๆ ม.3 เข้าสู่กระบวนการจัดการชุดความรู้อย่างเข้มข้น
ทุกคนจะมีโจทย์นำกลับบ้านในแต่ละวันเพื่อนำมาร่วมพูดคุย
ครูติดตามอธิบายความเข้าใจให้กับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอและสร้างโจทย์ใหม่ให้กับผู้เรียน
พี่ๆ ม.3 เข้าสู่กระบวนการจัดการชุดความรู้อย่างเข้มข้น
ตอบลบทุกคนจะมีโจทย์นำกลับบ้านในแต่ละวันเพื่อนำมาร่วมพูดคุย
ครูติดตามอธิบายความเข้าใจให้กับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอและสร้างโจทย์ใหม่ให้กับผู้เรียน