เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีการหารากที่สองของจำนวนต่างๆ ในรูปแบบวิธีที่หลาหลาย รวมทั้งใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนามในวิชาคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น
แผนการจัดการเรียนรุู้รายสัปดาห์
แผนการจัดการเรียนรุู้รายสัปดาห์
Week
|
input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
โจทย์
รากที่สอง
Key Questions
- นักเรียนคิดว่าความรู้ด้าน รากที่ 2 มีความสัมพันธ์กับความรู้ด้านใด
- จากชุดตัวเลขและคำตอบที่เกิดขึ้น นักเรียนสังเกตเห็นความสัมพันธ์อะไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าเราจะนำความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง 12- 92มาปรับใช้เพื่อหาค่ารากที่สองของ 484 ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง 12- 92มาปรับใช้เพื่อหาค่ารากที่สองของจำนวนเต็มบวกและเต็มลบใดๆ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์รากที่สอง
- ชุดตัวเลข
|
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่แล้วและทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ รากที่ 2 ของจำนวนต่างๆ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนคิดว่าความรู้ด้าน รากที่ 2 มีความสัมพันธ์กับความรู้ด้านใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูให้นักเรียนดูชุดตัวเลขยกกำลัง ตั้งแต่ 12- 92 พร้อมร่วมกันหาคำตอบ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากชุดตัวเลขและคำตอบที่เกิดขึ้น นักเรียนสังเกตเห็นความสัมพันธ์อะไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น (เช่น คำตอบที่ลงท้ายด้วย 1 มี 1 กับ 9 )
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”นักเรียนจะมีวิธีหาค่า รากที่ 2 ของ 484 ได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ” นักเรียนคิดว่าเราจะนำความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง 12- 92มาปรับใช้เพื่อหาค่ารากที่สองของ 484 ได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนนำเสนอความคิดเห็นพร้อมจัดระบบข้อมูลร่วมกันเพื่อทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับการหารากที่ 2 ของ 484 โดยใช้ความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง 12- 92
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอวิธีคิดของตนเอง ต่อโจทย์ รากที่ 2 ที่ครูกำหนดให้ พร้อมนำเสนอวิธีคิดให้เพื่อและครูได้ร่วมรับฟัง อาทิเช่น รากที่ 2 1,234 , 342 , 247 , 869,
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอวิธีคิดของตนเองให้เพื่อนและครูได้ร่วมรับฟัง พร้อมทั้งอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับวิธีคิดและความเข้าใจของแต่ละคน พร้อมออกแบบโจทย์ใหม่ของตนเองและแลกเปลี่ยนกับเพื่อ ได้ทดลองทำเพื่อเพิ่มความเข้าใจอีกครั้ง
|
ภาระงาน
วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง 12- 92มาปรับใช้เพื่อหาค่ารากที่สองของจำนวนเต็มบวกและเต็มลบใดๆ
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงแสดงความเข้าใจเกี่ยวกับการนำความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง 12- 92มาปรับใช้เพื่อหาค่ารากที่สองของจำนวนเต็มบวกและเต็มลบใดๆ
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหาค่ารากที่ 2
|
ความรู้
การนำความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง 12- 92มาปรับใช้เพื่อหาค่ารากที่สองของจำนวนเต็มบวกและเต็มลบใดๆ
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์คำตอบโจทย์ประยุกต์ โดยใช้คุณสมบัติของเลขยกกำลัง
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับการนำความสัมพันธ์ของชุดเลขยกกำลัง 12- 92มาปรับใช้เพื่อหาค่ารากที่สอง
ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาของรากที่ 2 ของค่าที่มีจำนวนมากๆได้
ทักษะการเห็นแบบรูป (Pattern)
- มองเห็นความสัมพันธ์รูปแบบของค่าในตัวเลขยกกำลัง ตั้งแต่ 12- 92 ซึ่งสามารถนำมาหาค่าของรากที่ 2 ได้
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยง กับการนำไปปรับใช้ในเรื่องการแยกตัวประกอบของตัวเลขในวิชาคณิตศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นได้
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
พี่ๆ ม.3 ได้ประมวลความเข้าใจผ่านชิ้นงานต่างๆ ผ่านชิ้นงาน
และจัดกระทำผ่านICT เพื่อให้เห็นอีกมิติหนึ่งที่ผู้เรียนจะได้ถ่ายทอด การเรียนรู้ที่แตกต่างๆ ทำให้เด็กๆ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มาจัดกระทำองค์ความรู้บางชุด เพื่อให้ลงสู่เนื้องานที่แต่ละคนจะสรรค์สร้างขึ้นมา
_ในอีกมิติหนึ่ง ครูยังได้เห็บสิ่งที่ผู้เรียนได้เขียนเล่าถ่ายทอดออกมา
*การเรียนรู้รากที่สอง เป็นการเสริมสร้างพื้นฐานให้เด็กๆ ได้เห็นเนื้อหาของการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการจะสร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จะลงสู่ผู้เรียนก็ยาก
แต่เด็ฏๆ มีความกระหายอยากเรียน ไปค้นคว้าต่อ.
และจัดกระทำผ่านICT เพื่อให้เห็นอีกมิติหนึ่งที่ผู้เรียนจะได้ถ่ายทอด การเรียนรู้ที่แตกต่างๆ ทำให้เด็กๆ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มาจัดกระทำองค์ความรู้บางชุด เพื่อให้ลงสู่เนื้องานที่แต่ละคนจะสรรค์สร้างขึ้นมา
_ในอีกมิติหนึ่ง ครูยังได้เห็บสิ่งที่ผู้เรียนได้เขียนเล่าถ่ายทอดออกมา
*การเรียนรู้รากที่สอง เป็นการเสริมสร้างพื้นฐานให้เด็กๆ ได้เห็นเนื้อหาของการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการจะสร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จะลงสู่ผู้เรียนก็ยาก
แต่เด็ฏๆ มีความกระหายอยากเรียน ไปค้นคว้าต่อ.
พี่ๆ ม.3 ได้ประมวลความเข้าใจผ่านชิ้นงานต่างๆ ผ่านชิ้นงาน
ตอบลบและจัดกระทำผ่านICT เพื่อให้เห็นอีกมิติหนึ่งที่ผู้เรียนจะได้ถ่ายทอด การเรียนรู้ที่แตกต่างๆ ทำให้เด็กๆ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มาจัดกระทำองค์ความรู้บางชุด เพื่อให้ลงสู่เนื้องานที่แต่ละคนจะสรรค์สร้างขึ้นมา
_ในอีกมิติหนึ่ง ครูยังได้เห็บสิ่งที่ผู้เรียนได้เขียนเล่าถ่ายทอดออกมา
*การเรียนรู้รากที่สอง เป็นการเสริมสร้างพื้นฐานให้เด็กๆ ได้เห็นเนื้อหาของการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการจะสร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จะลงสู่ผู้เรียนก็ยาก แต่เด็กๆ มีความกระหายอยากเรียน ไปค้นคว้าต่อ.